แจ้งการโอนเงิน    เลขที่บัญชี    วิธีสั่งซื้อ
 
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน     
 
 
ดูตะกร้าสินค้า
ยังไม่สินค้าอยู่ในตะกร้า
 
 
wattajuk
friendjob


** ใส่ชื่อหนังสือสั้นๆที่คุณจำได้
ค้นหา
ซื้อขายหนังสือมือสอง ฟรี
หางานสมัครงาน
จดทะเบียนบริษัท

 
  กฎหมาย,สัญญา
  การออกแบบ,ศิลปะ,สถาปัตยฯ
  การเกษตร,พืช,ต้นไม้
  การเรียนการสอน,การศึกษา
  การแพทย์,พยาบาล,โรค
  กีฬา,นันทนาการ,เกมกล
  ครอบครัว,คุณแม่,เด็ก,ลูก
  ความรู้,ข้อมูล,อ้างอิง
  คอมพิวเตอร์,ไอที
  คู่มือช่าง/วิศวกรรม
  งานฝีมือ,งานประดิษฐ์
  จิตวิทยา/พัฒนาตนเอง
  ชีวประวัติ,ประวัติคนดัง
  ตลก,ขันขำ,แปลกประหลาด
  ท่องเที่ยว,เดินทาง,แผนที่
  นวนิยายแนวชีวิตและสังคม
  นวนิยายแนววิทยาศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรม/เรื่องสั้น
  นิยาย/วรรณกรรมจีน/กำลังภายใน
  นิยาย/วรรณกรรมภูตผี,ปีศาจ
  นิยาย/วรรณกรรมรักโรแมนติก
  นิยาย/วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรมแปล/อิโรติก
  นิยาย/วรรณกรรมไทย/ทั่วไป
  นิยายวรรณกรรมผจญภัย/แฟนตาซี
  นิยายวรรณกรรมสืบสอบสวน
  บริหาร,จัดการ,การตลาด
  บันเทิง,ดนตรี,บทเพลง
  บ้านและสวน
  ประวัติศาสตร์
  พจนานุกรม,สารานุกรม
  พระราชนิพนธ์,หนังสือพิเศษ
  ภาษาศาสตร์
  รถยนต์,ยานพาหนะ
  รัฐศาสตร์,การเมือง,การปกครอง
  วรรณคดี,สารคดี
  วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
  ศาสนา/ธรรมะ/ปรัชญา
  ศิลปวัฒนธรรม
  สังคมศาสตร์
  สัตว์เลี้ยง,ปศุสัตว์
  สินค้าพิเศษ
  สุขภาพ,ความงาม
  หนังสือเด็ก/เยาวชน
  อาชีพ,การทำงาน,ประสบการณ์
  อาวุธ,สงคราม,การรบ
  อาหาร/เครื่องดื่ม
  เศรษฐ์ศาสตร์/การลงทุน/หุ้น
  โหราศาสตร์/ดวง/พยากรณ์
  ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
  ไสยศาสตร์,วิญญาณ,อาถรรพ์


 
 
 
 
 
 
ประกาศ ข่าวสาร
 
รู้จักอาการสมาธิสั้น ชีวจิต

เนื้อความที่ส่งมานี้อาจมีข้อผิดพลาด กรุณาใช้วิจารณญาณในการอ่าน




รู้จักอาการสมาธิสั้น



ถ้าลูกหรือหลานของคุณเป็นเด็กที่ซนมาก ชนิดที่อยู่ไม่สุข ต้องวิ่ง ปีน ป่าย เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาแล้วล่ะก็ บางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะไม่ใช่ความซนธรรมดาก็ได้ค่ะ เพราะปัจจุบันนี้พบว่า ห้องเรียนห้องหนึ่งถ้ามีนักเรียนอยู่ประมาณ 50 คน จะมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่ประมาณ 2-3 คนเลยทีเดียว ส่วนอาการแบบไหนที่จะบ่งบอกว่าเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น ชีวจิตหาคำตอบมาให้คุณค่ะ

สมาธิสั้นเกิดจากอะไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้อธิบายถึงโรคสมาธิสั้นว่า

โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก (ก่อนอายุ 7 ขวบ) ที่เกิดจากความผิดปกติของสมองซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก กลุ่มอาการนี้ประกอบด้วย อาการขาดสมาธิ อาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม และอาการซน อยู่ไม่นิ่ง เด็กบางคนอาจจะมีอาการซน และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม เป็นอาการเด่น ซึ่งมักพบได้บ่อยในเด็กผู้ชายมากกว่า แต่เด็กที่ เป็นโรคสมาธิสั้นบางคนก็อาจจะไม่ซน แต่มีอาการขาดสมาธิเป็นปัญหาหลัก ซึ่งมักพบได้ทั้งในเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

ผศ.นพ.ชาญวิทย์ เล่าว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีความบกพร่อง หรือมีปริมาณสารเคมีที่สำคัญบางตัวในสมองน้อยกว่าเด็กปกติ โดยมีกรรมพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ ประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ของเด็กสมาธิสั้นจะมีสมาชิกในครอบครัวคนใดคนหนึ่งเป็นโรคสมาธิสั้นด้วยหรือมีปัญหาอย่างเดียวกัน ปัจจัยจากการเลี้ยงดู หรือสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงปัจจัยเสริม ที่ทำให้อาการหรือความผิดปกติดีขึ้นหรือแย่ลงแต่ไม่ใช่สาเหตุหลัก มารดาที่ขาดสารอาหาร ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือถูกสารพิษบางชนิด (เช่น ตะกั่ว) ในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีโอกาสมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นสูงขึ้น การวิจัยในปัจจุบันไม่พบว่าการบริโภคน้ำตาลหรือช็อกโกแลตมากเกินไปทำให้เด็กซนมากขึ้น การดูทีวีหรือเล่นวิดีโอเกมมากเกินไปก็ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น

อาการแบบไหน เรียกสมาธิสั้น


อาการขาดสมาธิ (attention deficit) เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆหล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักจะมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
อาการหุนหันพลันแล่น (impulsivity) เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน อารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถดีๆ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน
อาการซน (hyperactivity) เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่
ค่อยได้ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น
หากคุณๆสงสัยว่าลูกหลานเป็นโรคสมาธิสั้น อย่านิ่งนอนใจนะคะ รีบไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อคุณหมอจะได้ให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำถามน่ารู้ของโรคสมาธิสั้น


ฟังมาถึงตรงนี้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้น อาจจะมีคำถามบางอย่างที่ยังสงสัย ดังนั้นเรามีคำตอบจาก ผศ.นพ.ชาญวิทย์ มาฝากกันค่ะ

เมื่อโตขึ้นเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายหรือไม่
เมื่อผ่านช่วงวัยรุ่น ประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องรับประทานยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และมีความสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนหากสามารถปรับตัวและเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนัก ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษาต่อ การงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กสมาธิสั้นที่อาการยังไม่หายเมื่อโตขึ้นจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ใหญ่มีสิทธิที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นได้หรือไม่ และจะมีลักษณะหรืออาการอย่างไรบ้าง
โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่เกิดเฉพาะกับเด็ก หรือพบได้เฉพาะในวัยเด็กเท่านั้น ปัจจุบันพบว่ามีผู้ใหญ่หลายๆคนที่มีปัญหานี้และทำให้ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ลักษณะของผู้ใหญ่สมาธิสั้น

มีประวัติบ่งชี้ถึงโรคสมาธิสั้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เช่น ตอนเล็กๆมีพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่ตั้งใจเรียน วอกแวกง่าย เรียนหนังสือไม่ดี ฯลฯ
ใจร้อน โผงผาง
อารมณ์ขึ้นลงเร็ว (โกรธง่ายหายเร็ว)
หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่คิดก่อนทำ
ทนกับความเครียดหรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิระหว่างการทำงาน
รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้
มักจะทำงานหลายๆชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จสักชิ้น
ไม่รู้จักแบ่งเวลา ขาดความสามารถในการบริหารจัดการเวลาที่ดี
ชอบผัดวันประกันพรุ่ง
นั่งอยู่นิ่งๆไม่ได้นาน ชอบเขย่าขาหรือลุกเดินบ่อยๆ
เบื่อง่าย หรือต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
ไม่มีระเบียบ บ้านรกรุงรัง
เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดจากความสะเพร่า ไม่เอาใจใส่
มาสาย ผิดนัด หรือลืมทำเรื่องสำคัญๆ อยู่เสมอ
มีปัญหากับบุคคลรอบข้าง เช่น สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หัวหน้าหรือผู้ร่วมงานอยู่บ่อยๆ